คำถาม คนป่วยโรคไตควรดื่มน้ำในปริมาณเท่าไรต่อวัน ?
คำตอบ น้ำ ในที่นี้หมายถึงน้ำที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่นน้ำแกงจืด น้ำหวาน และน้ำที่ใช้ดื่มรวมกัน คนปกติมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในช่วงวันละ 400-3,000 มิลลิลิตร หรือโดยเฉลี่ยวันละประมาณ2,000 มิลลิลิตร ปัสสาวะของคนปกติจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคไตอักเสบหรือโรคไตวายเรื้อรังที่ยังไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อยก็ได้ ผู้ป่วยระยะนี้จะไม่มี อาการบวม จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ โดยทั่วไปสามารถบริโภคน้ำได้ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคไตมากขึ้น (ค่าครีอะตินีนในเลือดตั้งแต่ 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป)หรือผู้ป่วยที่มีอาการบวมตามตัวแล้วไตไม่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณปัสสาวะให้มากน้อยตามปริมาณน้ำดื่มได้เช่นคนปกติ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะหลังนี้จำเป็นต้องปรับน้ำดื่มให้มากน้อยตามปริมาณปัสสาวะที่ออกได้จริงแทน
ขอเน้นว่าผู้ป่วยที่มีไตวายรุนแรงจะมีปริมาณปัสสาวะไม่สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน ผู้ป่วยโรคไตแต่ละรายจึงต้องปรับปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และมีข้อจำกัดในการดื่มน้ำไม่เท่ากัน ขอให้ยึดหลักง่ายๆ ว่า ถ้ายังปัสสาวะได้มากก็ดื่มน้ำได้มากถ้าปัสสาวะได้น้อยก็ต้องจำกัดน้ำดื่มลงมิฉะนั้นอาจเกิดอาการบวมอย่างรุนแรง หรือเกิดอาการน้ำท่วมปอดได้
การดูว่ามีปัสสาวะมากหรือน้อยต้องใช้วิธีวัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
แล้วปรับปริมาณน้ำดื่มให้มากน้อยตามกันไป ไม่ควรใช้วิธีนับจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ หรือคะเนเอาเองจากเวลาที่ใช้ถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ้าผู้ป่วยบางรายถ่ายปัสสาวะได้รวม 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน ก็อนุมานว่าผู้ป่วยควรบริโภคน้ำได้ไม่เกิน 1,000มิลลิลิตรต่อวัน ด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาขับปัสสาวะกระตุ้นให้มีปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็อาจดื่มน้ำได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น ผู้ป่วยบางรายถ้ารับประทานยาขับปัสสาวะแล้ว ไม่ได้ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ควรทาน
ยาขับปัสสาวะต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะอาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ ควรประเมินหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้ โดยดูจาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วภายใน ช่วงเวลาไม่กี่วัน แสดงว่าผู้ป่วยบริโภคน้ำมากไปหรือน้อยไปตามลำดับ ควรค่อยๆ
ปรับปริมาณน้ำให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาควบคู่กับปริมาณปัสสาวะที่ขับออกและค่าน้ำหนักตัวในแต่ละวัน
การรักษาไตวายเรื้อรังอาจแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภท คือ การรักษาแบบประคับประคอง และการบำบัดทดแทนไต
การรักษาแบบประคับประคอง
สามารถช่วยชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไตได้ ถ้าเริ่มรักษาตั้งแต่ไตวายเรื้อรังระยะแรก การรักษามีดังต่อไปนี้
1. การรักษาที่ไม่ใช้ยา ประกอบด้วย
1.1 การควบคุมอาหาร
ปริมาณอาหารที่ได้รับควรให้พลังงานประมาณ 35 - 40 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน แต่จะต้องจำกัดประมาณสารอาหารบางชนิดดังนี้
โปรตีน
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะก่อนที่จะต้องรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ควรได้รับโปรตีนปริมาณต่ำ คือ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน หรือโปรตีนปริมาณต่ำมาก คือ 0.4 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ร่วมกับการรับประทานกรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคิโต เสริมวันละประมาณ 10 กรัม
ฟอสฟอรัส
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เมล็ดพืช เป็นต้น โดยควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสให้น้อยกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวัน
ไขมัน
ควรจำกัดไขมันในอาหาร โดยให้ปริมาณโคเลสเตอรอลไม่เกิล 300 มิลลิกรัมต่อวัน
โซเดียมและโพแทสเซียม
ถ้ามีความดันโลหิตสูง หรือ บวม ควรจำกัดเกลือ โดยให้ปริมาณเกลือแกงน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน สำหรับโพแทสเซียมที่มีมากในผลไม้ ไม่จำเป็นต้องจำกัดในระยะแรก เพราะไตยังสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ดี ควรจำกัดโพแทสเซีมเมื่อมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง หรือเมื่อเป็นไตวายระยะสุดท้าย โดยหลีกเลี่ยงผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ส้ม กล้วย เป็นต้น
1.2 การควบคุมประมาณน้ำ
ในไตวายเรื้อรังก่อนระยะสุดท้ายที่ปัสสาวะได้ปกติ และไม่มีอาการบวมไม่ต้องจำกัดน้ำ และควรดื่มน้ำประมาณ 2 ลิตรต่อวัน ควรจำกัดน้ำดื่มเมื่อมีอาการบวม หรือเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยดื่มน้ำปริมาณเท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวัน
1.3 ออกกำลังกาย
สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติได้ แต่ควรหลีกเลี่ยง การออกกำลังกายอย่างหนัก
2. การรักษาด้วยยาประกอบด้วย
2.1 ยาลดฟอสฟอรัสในเลือด
ได้แก่ยาที่จับกับฟอสฟอรัสในลำไส้ เพื่อช่วยปรับระดับฟอสฟอรัสในเลือดให้ปกติ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมอะซิเตต เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาที่เป็นเกลืออะลูมินัมในระยะยาว เช่น อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ เพื่อป้องกันการเกิดพิษจากอะลูมินัม
2.2 ยาขับปัสสาวะ
ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการบวม
2.3 ยาลดความดันโลหิต
ระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมที่จะช่วยในการชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไต คือ ระดับปริมาณ 130/85 มิลลิเมตรปรอท แต่ทั้งนี้การควบคุมระดับความดันโลหิตที่เหมาะสม ต้องขึ้นกับสภาพและโรคอื่นๆ ของผู้ป่วยด้วย
2.4 การให้ด่าง
คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อช่วยแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด
(ในปัจจุบัน เรามีน้ำด่างจากเครื่องทำน้ำด่าง อย่างปลอดภัยแล้ว ใช้งานง่าย)
2.5 ยาลดไขมันในเลือด
ถ้าควบคุมอาหารแล้วยังมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรใช้ยาลดไขมัยร่วมด้วย
2.6 ยาอื่นๆ
เช่น น้ำมันปลา การต้านเกล็ดเลือด ยากันเลือดแข็ง เป็นต้น การใช้ยาดังกล่าวจะมีประโยชน์เฉพาะไตวายเรื้อรังบางกลุ่มเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก หลายๆแห่งใน Internet
Kangenthai People Franchising
Tel : 081 514 5615 (ais)
: 085 192 6549 (dtac)
FB : https://www.facebook.com/Kangenthai
Line : Kangenthai
Email : kangenthai@gmail.com
Webpage : http://kangenthai.com
: http://www.enagic.com
คำตอบ น้ำ ในที่นี้หมายถึงน้ำที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่นน้ำแกงจืด น้ำหวาน และน้ำที่ใช้ดื่มรวมกัน คนปกติมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในช่วงวันละ 400-3,000 มิลลิลิตร หรือโดยเฉลี่ยวันละประมาณ2,000 มิลลิลิตร ปัสสาวะของคนปกติจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคไตอักเสบหรือโรคไตวายเรื้อรังที่ยังไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อยก็ได้ ผู้ป่วยระยะนี้จะไม่มี อาการบวม จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ โดยทั่วไปสามารถบริโภคน้ำได้ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคไตมากขึ้น (ค่าครีอะตินีนในเลือดตั้งแต่ 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป)หรือผู้ป่วยที่มีอาการบวมตามตัวแล้วไตไม่สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณปัสสาวะให้มากน้อยตามปริมาณน้ำดื่มได้เช่นคนปกติ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะหลังนี้จำเป็นต้องปรับน้ำดื่มให้มากน้อยตามปริมาณปัสสาวะที่ออกได้จริงแทน
ขอเน้นว่าผู้ป่วยที่มีไตวายรุนแรงจะมีปริมาณปัสสาวะไม่สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน ผู้ป่วยโรคไตแต่ละรายจึงต้องปรับปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และมีข้อจำกัดในการดื่มน้ำไม่เท่ากัน ขอให้ยึดหลักง่ายๆ ว่า ถ้ายังปัสสาวะได้มากก็ดื่มน้ำได้มากถ้าปัสสาวะได้น้อยก็ต้องจำกัดน้ำดื่มลงมิฉะนั้นอาจเกิดอาการบวมอย่างรุนแรง หรือเกิดอาการน้ำท่วมปอดได้
การดูว่ามีปัสสาวะมากหรือน้อยต้องใช้วิธีวัดปริมาตรปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
แล้วปรับปริมาณน้ำดื่มให้มากน้อยตามกันไป ไม่ควรใช้วิธีนับจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ หรือคะเนเอาเองจากเวลาที่ใช้ถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ้าผู้ป่วยบางรายถ่ายปัสสาวะได้รวม 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน ก็อนุมานว่าผู้ป่วยควรบริโภคน้ำได้ไม่เกิน 1,000มิลลิลิตรต่อวัน ด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาขับปัสสาวะกระตุ้นให้มีปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็อาจดื่มน้ำได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น ผู้ป่วยบางรายถ้ารับประทานยาขับปัสสาวะแล้ว ไม่ได้ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ควรทาน
ยาขับปัสสาวะต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะอาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ ควรประเมินหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้ โดยดูจาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วภายใน ช่วงเวลาไม่กี่วัน แสดงว่าผู้ป่วยบริโภคน้ำมากไปหรือน้อยไปตามลำดับ ควรค่อยๆ
ปรับปริมาณน้ำให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาควบคู่กับปริมาณปัสสาวะที่ขับออกและค่าน้ำหนักตัวในแต่ละวัน
จาก http://www.thai-sle.com/ebook-thai_sle/8/8-22.htm
เมื่อเป็นไตวายเรื้อรังจะทำอย่างไรการรักษาไตวายเรื้อรังอาจแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภท คือ การรักษาแบบประคับประคอง และการบำบัดทดแทนไต
การรักษาแบบประคับประคอง
สามารถช่วยชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไตได้ ถ้าเริ่มรักษาตั้งแต่ไตวายเรื้อรังระยะแรก การรักษามีดังต่อไปนี้
1. การรักษาที่ไม่ใช้ยา ประกอบด้วย
1.1 การควบคุมอาหาร
ปริมาณอาหารที่ได้รับควรให้พลังงานประมาณ 35 - 40 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน แต่จะต้องจำกัดประมาณสารอาหารบางชนิดดังนี้
โปรตีน
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะก่อนที่จะต้องรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ควรได้รับโปรตีนปริมาณต่ำ คือ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน หรือโปรตีนปริมาณต่ำมาก คือ 0.4 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ร่วมกับการรับประทานกรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคิโต เสริมวันละประมาณ 10 กรัม
ฟอสฟอรัส
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เมล็ดพืช เป็นต้น โดยควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสให้น้อยกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวัน
ไขมัน
ควรจำกัดไขมันในอาหาร โดยให้ปริมาณโคเลสเตอรอลไม่เกิล 300 มิลลิกรัมต่อวัน
โซเดียมและโพแทสเซียม
ถ้ามีความดันโลหิตสูง หรือ บวม ควรจำกัดเกลือ โดยให้ปริมาณเกลือแกงน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน สำหรับโพแทสเซียมที่มีมากในผลไม้ ไม่จำเป็นต้องจำกัดในระยะแรก เพราะไตยังสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ดี ควรจำกัดโพแทสเซีมเมื่อมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง หรือเมื่อเป็นไตวายระยะสุดท้าย โดยหลีกเลี่ยงผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ส้ม กล้วย เป็นต้น
1.2 การควบคุมประมาณน้ำ
ในไตวายเรื้อรังก่อนระยะสุดท้ายที่ปัสสาวะได้ปกติ และไม่มีอาการบวมไม่ต้องจำกัดน้ำ และควรดื่มน้ำประมาณ 2 ลิตรต่อวัน ควรจำกัดน้ำดื่มเมื่อมีอาการบวม หรือเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยดื่มน้ำปริมาณเท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวัน
1.3 ออกกำลังกาย
สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติได้ แต่ควรหลีกเลี่ยง การออกกำลังกายอย่างหนัก
2. การรักษาด้วยยาประกอบด้วย
2.1 ยาลดฟอสฟอรัสในเลือด
ได้แก่ยาที่จับกับฟอสฟอรัสในลำไส้ เพื่อช่วยปรับระดับฟอสฟอรัสในเลือดให้ปกติ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมอะซิเตต เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาที่เป็นเกลืออะลูมินัมในระยะยาว เช่น อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ เพื่อป้องกันการเกิดพิษจากอะลูมินัม
2.2 ยาขับปัสสาวะ
ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการบวม
2.3 ยาลดความดันโลหิต
ระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมที่จะช่วยในการชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไต คือ ระดับปริมาณ 130/85 มิลลิเมตรปรอท แต่ทั้งนี้การควบคุมระดับความดันโลหิตที่เหมาะสม ต้องขึ้นกับสภาพและโรคอื่นๆ ของผู้ป่วยด้วย
2.4 การให้ด่าง
คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อช่วยแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด
(ในปัจจุบัน เรามีน้ำด่างจากเครื่องทำน้ำด่าง อย่างปลอดภัยแล้ว ใช้งานง่าย)
2.5 ยาลดไขมันในเลือด
ถ้าควบคุมอาหารแล้วยังมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรใช้ยาลดไขมัยร่วมด้วย
2.6 ยาอื่นๆ
เช่น น้ำมันปลา การต้านเกล็ดเลือด ยากันเลือดแข็ง เป็นต้น การใช้ยาดังกล่าวจะมีประโยชน์เฉพาะไตวายเรื้อรังบางกลุ่มเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก หลายๆแห่งใน Internet
Kangenthai People Franchising
Tel : 081 514 5615 (ais)
: 085 192 6549 (dtac)
FB : https://www.facebook.com/Kangenthai
Line : Kangenthai
Email : kangenthai@gmail.com
Webpage : http://kangenthai.com
: http://www.enagic.com
No comments:
Post a Comment