Tuesday, February 12, 2013

Quantum Pendant 1654 สินค้าราคาพิเศษ

สินค้ายอดนิยม ในอดีต(นำมาจำหน่ายราคาพิเศษ)
Quantum Pendant เป็นเหรียญพลังงานเพื่อสุขภาพ
เป็นที่นิยมในผู้รักสุขภาพในไทยและทั่วโลกมามากกว่า 5 ปี
เนื่องจากยังมีผู้สอบถามเรื่องผลิตภัณฑ์ Quantum Science เหรียญควอนตั้ม หรือต้องการเซอร์วิสในการเปลี่ยนสินค้าเมื่อเกิดการแตกปิ่น แล้วหาบริการไม่ได้
ทางเราจึงเปิดจัดจำหน่ายเพื่อลูกค้าที่สนใจและบริการเปลี่ยนสินค้าในลูกค้าเดิมที่ซื้อไปแล้ว
(ด่วน...จำหน่ายในราคา พิเศษ สินค้าเหลือจำนวนจำกัด หมดแล้วหมดเลย)
เครื่องทำน้ำด่าง

เครื่องทำน้ำด่าง

เครื่องทำน้ำด่าง

สินค้าที่มีจำหน่าย
1.เหรียญควอนตั้มและเหรียญ Premium เลส เหรียญพลังงานเพื่อสุขภาพ
2.Quantum Charger ติดประหยัดน้ำมัน15-25 % ติดตั้งได้ด้วยตัวเอง
3.Quantum Shield ป้องกันคลื่น ELECTRO-MAGNETIC RADIATION ซึ่งรบกวนการทำงานของร่างกาย (ใช้ติดมือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไมโครเวฟ ไดร์เป่าผม เพื่อป้องกันอันตรายจากคลื่นวิทยุ)

(พิเศษสุดสำหรับท่านที่สั่งซื้อ) ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโทรติดต่อสอบถาม ได้ที่ 081 514 5615

Saturday, February 9, 2013

Body in acidic ร่างกายในสภาวะกรด


ร่างกายในสภาวะกรดและอาหาร
ดร.สุมิตร มณีวรรณกุล

Kangenthai อ้วน มะเร็ง
ร่างกายของเรามีการรักษาสมดุลกรด-ด่างอย่างเข้มงวด ในหลายส่วนของร่างกาย เช่น ในเลือดจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในช่วง 7.35-7.45 โดยจะมีสารหลายๆตัว ไม่ว่าจะเป็นเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แคลเซียม คลอไรด์ ฯลฯ) บัฟเฟอร์ (ได้แก่สารไบคาร์บอเนตทั้งหลาย) และสารอื่นๆ เช่น กรดอะมิโน อัลบูมิน และฮีโมโกลบิน ฯลฯ เป็นตัวสำคัญในการช่วยปรับสมดุลกรด-ด่างในเลือด หากมีการเปลี่ยนแปลง pH ในเลือดเพียงเล็กน้อย ก็จะมีผลต่อการทำงานและอาการที่ผิดปกติไปของร่างกาย เมื่อ pH ลดต่ำลงกว่า 7.35 ทางการแพทย์ก็จะถือว่า ร่างกายอยู่ในสภาวะกรด และถ้าสูงกว่า 7.45 ก็ จะอยู่ในสภาวะด่าง ซึ่งจะเห็นว่าความแตกต่างระหว่างสภาวะปกติ สภาวะกรด หรือสภาวะด่าง เป็นเพียงค่าเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับในเลือด จึงต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด มิฉะนั้นความผิดปกติทางร่างกายก็จะเกิดขึ้นตามมา
ร่างกายมนุษย์มีวิธีในการรักษาสมดุลกรด-ด่างอยู่หลายทาง เช่น ในระดับเซลล์จะใช้ปฏิกิริยาทางเคมีในการเพิ่มหรือลดความเป็นกรด-ด่าง ในเลือดก็จะใช้สารต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วในการปรับสมดุล และท้ายที่สุดก็คือการปรับระดับการหายใจ เพื่อปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากปอด (H2O + CO2 <---> H2CO3 <---> H+ + HCO3) รวมทั้งขับกรดต่างๆในร่างกายออกจากไตทางปัสสาวะ เป็นต้น
ผลกระทบจากอาหารที่มีต่อสมดุลกรด-ด่าง
โรค เรื้อรังที่พบบ่อยหลายๆโรค เช่น โรคกระดูกพรุน โรคไต เบาหวาน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือแม้กระทั่งอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ฯลฯ อาจจะมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว อาหารที่เป็นต้นเหตุของโรคเหล่านี้เชื่อหรือไม่ ก็คืออาหารในโลกปัจจุบันนั่นเอง เนื่องจากการปฏิวัติเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ทำให้ธัญพืชและน้ำตาลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอาหารของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งทำให้อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้ เต็มไปด้วยธัญพืช น้ำตาล เนื้อสัตว์ และอาหารแปรรูปต่างๆ แทนที่ผัก-ผลไม้ จึงทำให้การทานผัก-ผลไม้น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น ท่านทราบหรือไม่ว่าอาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้ ส่งผลให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรดมากขึ้น แม้แต่ปัสสาวะที่ขับออกมาจากร่างกายก็ยังมีความเป็นกรดมากขึ้นอีกด้วย 
สาเหตุ อีกประการหนึ่งก็คือ ความสามารถในการทำงานของไตลดลงเรื่อยๆ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ความสามารถของไตที่ลดลงหมายถึงปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงไตลดลง ความสามารถในการกรองของเสียลดลง และความสามารถในการขับกรดออกจากร่างกายก็ลดลงด้วย 
เมื่อ รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็ยิ่งทำให้ปริมาณกรดสะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้น ซึ่งสภาวะกรดที่สูงขึ้นนี้จะส่งผลอะไรต่อร่างกายบ้าง? เราจะมาดูกันต่อไป
“อายุยิ่งมากเลือดก็ยิ่งมีกรดเพิ่มมากขึ้น”
สภาวะกรดของร่างกายส่งผลเสียอย่างไร? 
ผลที่เกิดกับร่างกายนี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า สภาวะกรดในระดับต่ำอย่างเรื้อรัง (Chronic Low-Grade Metabolic Acidosis) ซึ่งเป็นสภาวะที่ร่างกายเป็นกรดในระดับอ่อนๆ เราจะไม่สังเกตุอาการผิดปกติใดๆในระยะเริ่มต้น แต่ถ้าทิ้งให้ร่างกายอยู่ในสภาพนี้นานๆ อาจทำให้เป็นโรคหรือมีอาการต่างๆที่พบได้ เช่น (Yuen,2006) 
โรคกระดูกพรุน 
โรคไตและกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งโอกาสเกิดนิ่ว 
อาการทางหัวใจและหลอดเลือด 
เบาหวาน 
โรคอ้วน
ต่อมไธรอยด์ทำงานได้ไม่เต็มที่
ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพลดลง
ระบบต้านอนุมูลอิสระมีประสิทธิภาพลดลง 
มีสภาวะดื้อต่อฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต
ปวดเมื่อยข้อและกล้ามเนื้อ
มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
โรคลมชักเรื้อรัง
เป็นโรคติดเชื้อจากเชื้อราได้ง่าย 
แม้ว่าอาการต่างๆเหล่านี้ จะค่อยๆกัดกร่อนร่างกายเราอย่างช้าๆโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินไปก็ได้
เมื่อ ถูกทำให้มีสภาวะเป็นกรด ซึ่งเป็นระดับที่เลือดไม่สามารถปรับเข้าสู่สมดุลที่ต้องการได้ ร่างกายของเราจะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ เนื่องจากสมดุลกรด-ด่าง ของร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้ เพื่อการทำงานของร่างกายอย่างเป็นปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพยายามที่จะต้องหาอะไรมาชดเชยไม่ให้ร่างกายเป็นกรด (หรือด่าง) เกินกว่าที่จะรับได้
วิธีการรักษาสมดุลกรด-ด่างของร่างกาย
กระดูกเป็น แหล่งสำคัญในการสะสมแคลเซียมและแมกนีเซียม สารเหล่านี้ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของมวลกระดูก และมีคุณสมบัติเป็นด่าง สามารถทำให้ร่างกายมีความเป็นด่างเพิ่มขึ้นได้ แต่การที่ร่างกายจะนำสารด่างเหล่านี้มาใช้ ร่างกายจำต้องสลายสารด่างเหล่านี้ออกมาจากกระดูก ก่อนจะนำมาใช้ปรับสมดุลกรด-ด่าง ในกระแสเลือดที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย หากร่างกายมีสภาวะเป็นกรดอ่อนๆอยู่ตลอดเวลา การสลายมวลของกระดูกให้ได้เป็นสารด่างออกมาเพื่อใช้งาน ก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นเดียวกัน 
นอกจากนี้สภาวะความเป็นกรดที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ ยังส่งสัญญาณยังยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่สร้างกระดูก (Osteoblast) และกระตุ้นให้เซลล์สำหรับสลายกระดูก (Osteoclast) ทำงานอย่างขยันขันแข็งขึ้น ส่งผลรวมให้มวลกระดูกลดลง 
ใน กรณีนี้แม้ว่าเราจะรับประทานอาหารเสริมที่มีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง เท่าใดก็ตาม มวลกระดูกก็จะไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเซลล์สำหรับสร้างมวลกระดูกถูกยับยั้งการทำงาน ดังนั้นการรับประทานแคลเซียมหรือแมกนีเซียม จึงเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ การแก้ที่ต้นเหตุ จึงควรจะเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรดนั่นเอง (Tucker et al,2001)
“แคลเซียมช่วยป้องกันกระดูกพรุน?”
กราฟแสดงการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของภาวะกระดูกหักที่มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) กับปริมาณของแคลเซียมที่รับประทาน ในกลุ่มประชากรของประเทศต่างๆ จะเห็นได้ว่าในบรรดาประเทศที่เกิดภาวะกระดูกหักต่ำกว่า 50 ครั้งต่อประชากร 100,000 คน มีการรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนประชากรในประเทศที่บริโภคแคลเซียมเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน กลับมีอุบัติการกระดูกหักสูงกว่า 3-5 เท่า ตัว การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานแคลเซียมในปริมาณสูงอาจจะไม่ใช่วิธีป้องกันหรือรักษาที่ถูกต้อง ในทางตรงกันข้ามอาจจะส่งผลเสียก็ได้ในกรณีที่รับประทานมากจนเกินไป 
กล้ามเนื้อเองก็ถูกร่างกายนำไปใช้ในการปรับสมดุลของกรด-ด่าง เหมือนกัน โดยการนำกรดอะมิโนกลูตามีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์กล้ามเนื้อไปสร้างแอมโมเนีย ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง ทำให้ร่างกายต้องสลายมวลของกล้ามเนื้อ เพื่อทำให้ได้กรดอะมิโนกลูตามีน สำหรับใช้ในการปรับสมดุลที่ร่างกายต้องการอีกทางหนึ่ง การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงและอ่อนล้าลงเรื่อยๆ (Maurer et al,2003)
ไตต้อง ทำงานหนักขึ้นเพื่อขับแคลเซียมและแมกนีเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะในจำนวน ที่มากกว่าปกติ นอกจากนี้ ไตก็ยังสร้างสารต่างๆออกมาด้วย เช่น สารไบคาร์บอเนต เพื่อช่วยในการปรับสมดุลกรด-ด่างของร่างกายอีกทางหนึ่ง เมื่อต้องทำงานหนักเป็นเวลานานๆ ไตก็จะเสื่อมลงเร็วกว่าเวลาอันควร
อาหารที่ทำให้ร่างกายมีสภาวะกรด-ด่าง
วงจรอุบาทก์ที่เกิดขึ้นนี้สามารถหยุดยั้งได้ เพียงแค่รู้ว่าควรรับประทานอาหารชนิดใด ในปริมาณที่เหมาะสมเพียงใด ก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุ แต่ก่อนที่จะทราบว่าควรรับประทานอะไร เราก็ควรจะทราบเกี่ยวกับค่าสำคัญสักเล็กน้อย
ค่าที่สำคัญนี้คือ ค่าที่เรียกว่า ปริมาณกรดที่มีต่อไต [Potential Renal Acid Load (PRAL)] เป็นค่าเฉพาะของอาหาร ซึ่งบ่งชี้ถึงปริมาณกรดที่จะเกิดขึ้นกับไตหลังการบริโภคอาหารชนิดนั้นๆ (เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบกับค่าอื่นๆ ค่าที่นำมานี้จะมีหน่วยเป็น mEq ต่อปริมาณอาหาร 100 กรัม) เพื่อความง่ายต่อการปฏิบัติทราบเพียงค่านี้ค่าเดียวก็เพียงพอแล้ว ค่า PRAL เป็นค่าที่เกิดจากผลรวมของโปรตีนกับฟอสเฟต แล้วลบด้วยผลรวมของโปตัสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งมีสูตรดังนี้
PRAL = [0.49 x โปรตีน (กรัม)] + [0.037 x ฟอสฟอรัส(กรัม)] – [0.021 x โปตัสเซียม (กรัม)] – [0.026 x แมกนีเซียม(กรัม)] – [0.013 x แคลเซียม (กรัม)]
การคำนวณได้ค่าบวกแสดงว่า จะก่อให้เกิดสภาวะกรดต่อร่างกาย ส่วนค่าลบจะก่อให้เกิดสภาวะด่างต่อร่างกาย ค่า PRAL จากตาราง 1 ซึ่งได้คำนวณค่าสำหรับอาหารชนิดต่างๆไว้ให้แล้ว เมื่อพิจารณาค่าที่ได้จากตารางจะพบว่า มีเพียงกลุ่มผัก-ผลไม้เท่านั้น ที่จะให้ค่า PRAL เป็น ลบ ซึ่งก็หมายถึงทำให้ร่างกายเป็นด่าง ส่วนกลุ่มที่เหลือไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ นมเนยไข่ ธัญพืช เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีผลที่จะก่อให้เกิดสภาวะกรดต่อร่างกายทั้งสิ้น 
ท่าน อาจจะสงสัยว่า ทำไมผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวกลับทำให้เกิดสภาวะด่างต่อร่างกาย? สำหรับคำถามนี้เราจะเอาคุณสมบัติของอาหารมาเป็นตัวกำหนดสภาวะกรดหรือด่างไม่ ได้ ต้องคำนึงถึงกระบวนการทางเคมีในร่างกายว่าจะเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไป ให้กลายเป็นกรดหรือด่างในขั้นตอนสุดท้าย เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของอาหารแต่ละชนิด ในกรณีการศึกษาพบว่า กรดซิตริคเป็นกรดผลไม้ที่จะถูกเปลี่ยนต่อไปเป็นไบคาร์บอเนต และเพิ่มสภาวะความเป็นด่างให้กับร่างกาย แต่มีผลไม้บางชนิด เช่น แครนเบอรี่ซึ่งมีกรดประเภทอื่น (Chlorogenic และ phenolic acids) เป็นส่วนประกอบ กรดเหล่านี้จะเปลี่ยนไปเป็นกรดเบนโซอิค ซึ่งทำให้ร่างกายเป็นกรดมากขึ้น ส่วนโปรตีนหรือเนยแข็งที่ให้ค่า PRAL เป็นกรดสูง เนื่องจากการสลายโปรตีนได้กรดอะมิโนต่างๆจำนวน 20 ชนิดด้วยกัน แต่มี 2 ชนิดที่มีซัลเฟอร์ (กำมะถัน) เป็นองค์ประกอบ (เมธไธโอนีน และซีสเตอีน) การสลายตัวของกรดอะมิโนเหล่านี้ในร่างกาย จะให้กรดซัลฟูริคซึ่งเป็นกรดที่แรงมาก (กรดแก่)
ลองดูตัวอย่างคำนวณค่า PRAL ง่ายๆซักตัวอย่างก็แล้วกัน ถ้าเราทานสเต็กที่มีเนื้อวัวในปริมาณ 200 กรัม กับมันฝรั่ง 120 กรัม ผักขม 50 กรัม ผักกาดแก้ว 20 กรัม และพริกหยวก 30 กรัม เราก็สามารถคำนวณค่า PRAL ของอาหารมื้อนี้ได้ โดยดูค่า PRAL จากตาราง1 ซึ่งได้คำนวณค่าสำหรับอาหารชนิดต่างๆไว้ให้แล้ว 
เนื้อวัว 300 กรัม มีค่า PRAL (ต่อ 100 กรัม) เป็น 7.8 ดังนั้นค่า PRAL จะเป็น 7.8/100*300 = +23.4 mEq
มันฝรั่ง 120 กรัม มีค่า PRAL (ต่อ 100 กรัม) เป็น -4 ดังนั้นค่า PRAL จะเป็น -4/100*120 = -4.8 mEq
ผักขม 50 กรัม มีค่า PRAL (ต่อ 100 กรัม) เป็น -14 ดังนั้นค่า PRAL จะเป็น -14/100*50 = -7 mEq
ผักกาดแก้ว 20 กรัม มีค่า PRAL (ต่อ 100 กรัม) เป็น -1.6 ดังนั้นค่า PRAL จะเป็น -1.6/100*20 = -0.32 mEq
พริกหยวก 30 กรัม มีค่า PRAL (ต่อ 100 กรัม) เป็น -1.4 ดังนั้นค่า PRAL จะเป็น -1.4/100*30 = -0.42mEq
ผลรวมของ PRAL สำหรับอาหารมื้อนี้เป็น (+23.4) + (– 4.8) + (– 7) + (– 0.32) + (– 0.42) ซึ่งเท่ากับ +10.86 mEq ค่าที่ได้เป็นบวกแสดงว่าอาหารมื้อนี้ทำให้ร่างกายเรามีสภาวะเป็นกรดเพิ่มขึ้น
มีการประเมินว่าอาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้ จะทำให้เกิดสภาวะกรดต่อร่างกายเฉลี่ยประมาณ +48 ถึง +65 mEq /วัน ถ้าบริโภคอาหารในระดับนี้เป็นประจำ ในเวลา 10 ปี ร่างกายจะสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกไปประมาณ 1 กิโลกรัม คิดเป็น 15% ของน้ำหนักแร่ธาตุในกระดูก (New,2003) แม้ว่าจะใช้เวลานาน แต่ความเสียหายที่ค่อยๆสะสมจะนำไปสู่ระดับที่อันตรายในที่สุด วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดคือการยับยั้งหรือชลอการสูญเสีย ด้วยการรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากค่า PRAL ที่มีมาให้ในบทความนี้ และการทราบถึงสภาวะกรด-ด่างของร่างกายเรา เพื่อจะได้ปรับร่างกายให้มีสภาวะเป็นด่างอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไป 
มีวิธีการทดสอบสภาวะกรด-ด่างของเราอย่างไร? (Minich&Bland,2007) 
มี วิธีการตรวจที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในการทดสอบดูว่า ในเวลานี้ร่างกายของเรามีสภาวะเป็นกรดหรือด่าง? และเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายๆ ไม่เจ็บตัว สะดวกเพราะทำได้เอง จะทำกี่ครั้งก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ตามที นั่นก็คือการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของปัสสาวะด้วยกระดาษวัดค่ากรด-ด่าง (Litmus Test) โดยกระดาษที่ใช้วัดเรียกว่ากระดาษลิตมัส (Litmus Paper) ทำได้ง่ายๆโดยเก็บปัสสาวะใส่ภาชนะแล้วจุ่มด้วยการดาษลิตมัส ซึ่งกระดาษจะเปลี่ยนสีตาม pH ของปัสสาวะ เราสามารถทราบ pH ของ ปัสสาวะ โดยการเปรียบเทียบสีที่ได้กับสีมาตรฐานที่มีมาให้ แค่นี้เราก็จะทราบสภาวะของร่างกายว่า ณ เวลานั้นเป็นกรดหรือด่าง วิธีตรวจสอบนี้สามารถเห็นความแตกต่างในการวัดในเวลาตั้งแต่ 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ดังนั้นจึงควรมีกระดาษลิตมัสติดไว้ที่บ้าน เราสามารถหาซื้อกระดาษลิตมัสได้ตามร้านขายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรือร้านขายหนังสือเรียนก็น่าจะมี ราคาก็ไม่แพง 
ขอเพิ่มเติมถึงเรื่อง pH อีกสักหน่อย เพื่อให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยจะได้รู้จักกับค่า pH (หรือ Power of H+) คือค่าแสดงความเป็นกรด-ด่าง ซึ่ง pH ที่แสดงความเป็นกลางคือ 7 สูงกว่านั้นจะเป็นด่าง และต่ำกว่า 7 จะเป็นกรด ค่า pH ของปัสสาวะในคนปกติ ตามรายงานทางการแพทย์ จะอยู่ระหว่าง 4.5-8.0 ดังนั้นการที่จะทำให้ร่างกายมีสภาวะด่าง ก็ควรจะอยู่ในช่วงที่ pH เกิน 7.0 แต่ไม่ควรเกิน 8.0 ซึ่งยังอยู่ในช่วงที่เป็นค่าปกติของปัสสาวะ ปัสสาวะที่มี pH เกินกว่า 8.0 แสดงถึงสภาวะด่างที่แสดงอาการ (Metabolic Alkalosis) เช่น หายใจลำบาก กระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรทราบก็คือ การศึกษาพบสภาวะที่ร่างกายมีความเป็นกรดในระดับที่แสดงอาการ (Metabolic Acidosis) ปัสสาวะจะมี pH อยู่ในช่วง 5.0-5.5 ดังนั้นหากพบว่าปัสสาวะมี pH ต่ำกว่า 5.5 จึงไม่ดีแน่ แม้ว่าจะมีการระบุว่าปัสสาวะที่ปกติสามารถมี pH ได้ต่ำถึง 4.5 ก็ตาม และยังพบอีกด้วยว่า pH ที่ต่ำกว่า 6.5 เป็นต้นไป ร่างกายเริ่มต้องใช้ความเป็นด่างจากแหล่งอื่น เช่น กระดูก หรือกล้ามเนื้อมาชดเชย เนื่องจากระบบการควบคุมกรด-ด่างในเลือด เริ่มจะไม่เพียงพอที่จะควบคุมให้ pH อยู่ในระดับปกติได้ โดยสรุปแล้วควรควบคุมให้ pH ในปัสสาวะอยู่ในช่วง 7.0-8.0
ช่วง pH ที่แนะนำ
ขอแสดงตัวอย่างการใช้วิธีทดสอบปัสสาวะนี้ให้ดูซักอัน การศึกษานี้ใช้ผักรวม ซึ่งเป็นส่วนผสมของแครอท ดอกกะหล่ำ และ บร็อคลี จำนวน 200 กรัมให้แก่อาสาสมัครจำนวน 5 คน แล้ววัดค่าความเป็นกรด-ด่างหลังอาหารเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ปรากฏว่า pH ของปัสสาวะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจาก 6.2 เป็น 6.91 (Nho&Jeffrey,2001)
ประโยชน์ของการมีสภาวะร่างกายเป็นด่าง 
ทางการแพทย์รู้จักกันดี ในกระบวนการที่เรียกว่า Ion Trapping (Garrettson&Geller,1990) เป็นการทำให้ปัสสาวะมี pH มากกว่า 7.5 โดย การฉีดโซเดียมไบคาร์บอเนตเข้าไปในกระแสเลือด ใช้สำหรับผู้ที่ได้รับพิษอย่างเฉียบพลัน โดยจะช่วยให้ร่างกายสามารถขับสารแปลกปลอมออกมาได้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักที่ว่าปัสสาวะที่เป็นด่างจะเป็นการป้องกันการดูดกลับของสารแปลก ปลอมโดยท่อไต (Renal Tubules) 
วิธีนี้ได้รับการเห็นชอบจากสถาบันพิษวิทยาทางคลีนิคของสหรัฐอเมริกา (American Academy of Clinical Toxicology) และพบว่าวิธีนี้สามารถเพิ่มการขับสารออกมาในปัสสาวะได้มากขึ้น สารที่ศึกษา เช่น Chlorpropamide, Diflunisal, Fluoride, mecoprop, methotrexate, Phenobarbital, Salicylate และ 2,4-dichlorophenoxyacetic acid เป็นต้น (Proudfoot et al,2004)
ตัวอย่างการศึกษา เช่น ในกรณีที่ได้รับ Salicylate ในระดับที่เป็นพิษต่อร่างกาย (Salicylate Poisoning) การให้โซเดียมไบคาร์บอเนต จะทำให้ pH ของปัสสาวะเปลี่ยนไปจาก 6.1 ไปเป็น 8.1 และมีการขับ Salicylate ออกมาทางปัสสาวะเพิ่มจาก 0.08 ลิตรต่อชั่วโมง (หรือ 80 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง) ไปเป็น 1.41 ลิตรต่อชั่วโมง (หรือ 1,410 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นการขับ Salicylate ออกจากร่างกายเพิ่มขึ้นถึง 17 เท่า (Vree et al 1994)
การศึกษาในสัตว์ก็สอดคล้องกับที่พบในมนุษย์ เช่น การศึกษาในหมูโดยการฉีด 2% โซเดียมไบคาร์บอเนตเข้าไปหลังจากได้รับสารพิษ Chratoxin จากเชื้อรา พบว่าทำให้ pH ในปัสสาวะเปลี่ยนจาก 5.7 เป็น 8.3 และทำให้หมูขับสารพิษชนิดนี้ออกมาเพิ่มขึ้นเป็น 22.2% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ให้โซเดียมไบคาร์บอเนตที่ขับออกมาแค่ 9.3% จะเห็นได้ว่าการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงการขับสารแปลกปลอมที่ตก ค้างอยู่ในร่างกาย ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะร่างกายที่เป็นด่าง (Blank&Wolffram,2004)
โดย สรุปแล้วการรับประทานอาหารที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ร่างกายหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรคเรื้อรัง และอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ แล้ว ยังทำให้ร่างกายสามารถขับสารที่ไม่ต้องการออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ทำให้ร่างกายไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายอีกด้วย และการกินอย่างเหมาะสมในกรณีนี้ก็ไม่มีอะไรยาก เพียงแค่ทานผัก-ผลไม้ที่ชอบให้มากขึ้นก็เท่านั้นเอง
ใน กรณีที่รับประทานอาหารประเภทที่ทำให้ร่างกายเป็นกรดสูงติดต่อกันหลายครั้ง เช่น อาหารที่มีส่วนประกอบของชีสหรือเนื้อสัตว์จำนวนมาก เช่น พิซซ่า เนื้อย่างเกาหลี ฯลฯ และมีการรับประทานผัก-ผลไม้ไม่มากพอ หรือบางท่านที่ไม่ชอบทานผัก-ผลไม้ สามารถรับประทานอาหารเสริมประเภทที่มีโปตัสเซียม ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่างแทนได้ 
โปตัสเซียม
อาหารส่วนใหญ่ที่เรารับประทานในปัจจุบัน มีปริมาณโปตัสเซียมค่อนข้างต่ำ Food and Nutrition Board of the Institute of Medicine และ Linus Pauling Institute ได้กำหนดปริมาณโปตัสเซียมที่ควรได้รับอย่างเพียงพอในแต่ละวัน (Adequate Intake เรียกย่อๆว่า AI) ไว้ที่ 4.7 กรัม โครงการ Dietary Approaches to Stop Hypertension (Ref 7) ก็ ได้แนะนำให้ร่างกายได้รับโปตัสเซียมในปริมาณเช่นเดียวกันนี้ เพื่อลดความดันโลหิต ป้องกันการเกิดนิ่ว และลดการสูญเสียมวลกระดูกลง การสำรวจพบว่าชายชาวอเมริกันได้รับเพียง 35% ของปริมาณ AI และหญิงชาวอเมริกันได้รับเพียง 50% ของปริมาณที่แนะนำเท่านั้น
แต่ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยโรคไต ความดันโลหิตสูง และหัวใจ ตลอดจนถึงผู้ที่ได้รับยาที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของโปตัสเซียมในร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมในปริมาณสูง เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อาการที่อาจพบได้คือ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก กระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น ดังนั้นหากจะบริโภคโปตัสเซียมในปริมาณที่แนะนำไว้ ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด 
โรคกระดูกพรุน 
การศึกษาโดย Aberdeen Prospective Osteoporosis Screening Study (APOSS) มีผู้ร่วมศึกษาในโครงการที่เกี่ยวข้องประมาณ 5,000 คน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับผลของการบริโภคผักและผลไม้ที่มีต่อผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มตามปริมาณของผักและผลไม้ที่บริโภค ผลก็คือในกลุ่มที่บริโภคผัก-ผลไม้ที่มีปริมาณโปตัสเซียมมากที่สุด จะมีมวลกระดูกหนาแน่นที่สุด (New et al,1997)
อัมพฤกษ์ 
การศึกษาโดยใช้ชาย 43,000 คนโดยติดตามผลเป็นเวลา 8 ปีพบว่าในกลุ่มที่ได้รับโปตัสเซียมสูงสุด (4.3 กรัมต่อวัน) มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ลดลงเหลือเพียง 62% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับโปตัสเซียมน้อยที่สุด (2.4 กรัมต่อวัน) (Ascherio et al,1998)
การเกิดนิ่วในไต 
เป็น ที่ทราบกันดีมานานแล้วว่า การขาดโปตัสเซียมทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้มีการศึกษาโดยใช้ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 45,000 คน เป็นเวลานาน 4 ปีพบว่าในกลุ่มที่ได้รับปริมาณโปตัสเซียมสูง (4.04 กรัมต่อวัน) มีโอกาสเกิดนิ่วในไตลดลงเหลือเพียง 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับโปตัสเซียมน้อยกว่า 2.9 กรัมต่อวัน (Curhan et al, 1993) และมีการศึกษาในหญิงจำนวน 90,000 คนในช่วงเวลา 12 ปีพบว่าหญิงในกลุ่มที่ได้รับโปตัสเซียมสูงสุด (3.5 กรัมต่อวัน) มีโอกาสเกิดนิ่วในไตลดลงเหลือเพียง 65% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับโปตัสเซียมน้อยที่สุด (2.7 กรัมต่อวัน) (Curhan et al, 1997) แหล่งของโปตัสเซียมของทั้งสองการศึกษานี้ได้มาจากการบริโภคผัก-ผลไม้เกือบทั้งหมด
ชนิดของโปตัสเซียมที่ควรใช้ 
เมื่อ ได้ทราบถึงคุณประโยชน์แล้ว ชนิดของโปตัสเซียมในรูปของอาหารเสริมที่ใช้ ก็ให้ผลที่แตกต่างกันมาก การศึกษาผลของสารที่มีต่อการขับแคลเซียมจากร่างกาย โดยให้ผู้ป่วยรับประทานโปตัสเซียมไบคาร์บอเนต หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต วันละ 4-8 กรัมเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์พบว่า โปตัสเซียมไบคาร์บอเนตสามารถลดการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ในขณะที่โซเดียมไบคาร์บอเนตไม่สามารถลดการขับแคลเซียมจากร่างกายได้ (Lemann et al,1989; Marangella et al,2004)
การใช้โปตัสเซียมซิเตรทในผู้ป่วยกระดูกพรุน พบว่ามีการเสริมสร้างมวลกระดูกที่สูญหายไปได้ (โดยเฉพาะที่มีผลมาจากรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นเวลานานๆ) นอกจากนี้การศึกษาในสตรีวัยหมดประจำเดือนก็พบว่า สามารถเพิ่มมวลกระดูกที่สูญเสียไปได้เช่นกัน ในขณะที่โปตัสเซียมคลอไรด์ กลับส่งผลในการลดมวลกระดูกของผู้เข้าร่วมศึกษา (Sakhaee et al,2005; Jehle et al,2006) 
ผล ของโปตัสเซียมซิเตรทสอดคล้องกับผลที่ได้จากการบริโภคผักและผลไม้โดยตรง อันที่จริงแล้วโปตัสเซียมซิเตรทก็คือ โปตัสเซียมชนิดเดียวกับที่พบในผักและผลไม้ ดังนั้นหากท่านที่ไม่ชอบรับประทานอะไรชนิดเม็ดที่คล้ายๆกับยา ก็รับประทานผักและผลไม้เถอะครับ เพราะนอกจากจะได้โปตัสเซียมซิเตรทจากธรรมชาติแล้ว ในผักและผลไม้ยังมีสารที่มีประโยชน์อื่นๆอีกมาก เช่น เส้นไยอาหาร สารไฟโตเคมิคัล วิตามิน และเกลือแร่อื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกอีกด้วย แล้วก็หาง่าย กินง่ายอีกด้วยครับ เลือกจากตารางได้เลยครับว่า ตัวไหนมีค่า PRAL มาก ชอบตัวไหนมากกว่า...เชิญเลยครับ
สรุป แล้วการปรับให้ร่างกายไม่ให้มีสภาวะเป็นกรด จะส่งผลดีต่อร่างกายหลายด้านอย่างที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเพื่อการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว จึงเป็นสิ่งที่เราควรหันมาสนใจ โดยป้องกันไม่ทำให้ร่างกายของเราเป็นกรดมากเกินไป โดยการบริโภคผักและผลไม้ให้มากกว่าที่ผ่านมา เพียงแค่นี้ก็สามารถจะแก้ไขปัญหาชีวิตไปได้ไม่น้อยเลยครับ

เขียนโดย : ดร.สุมิตร มณีวรรณกุล
Ph.D. in Biology ที่ Texas A&M University
Postdoctoral Experience: Microbiology & Immunology Dept., Texas A&M Health Science Center 1990-1992
Postdoctoral Experience: Cell & Developmental Biology Dept., Harvard University 1992-1993

Kangenthai People Franchising
Tel : 081 514 5615 (ais)
      : 085 192 6549 (dtac)
FB : https://www.facebook.com/Kangenthai
Line : Kangenthai
Email : kangenthai@gmail.com
Webpage : http://kangenthai.com
                 : http://www.enagic.com